ประวัติความเป็นมา

สภาพทั่วไป ตำบลบ้านเขือง


ส่วนที่ 1 สภาพทั่วไป
ที่ตั้งอาณาเขต
สภาพทางภูมิศาสตร์
ทิศเหนือ ติดกับตำบลเชียงขวัญ อ.เชียงขวัญ จ.ร้อยเอ็ด
ทิศใต้ ติดกับตำบลหมูม้น อ.เชียงขวัญ จ.ร้อยเอ็ด
ทิศตะวันออก ติดกับตำบลพระธาตุ อ.เชียงขวัญ จ.ร้อยเอ็ด
ทิศตะวันตก ติดกับตำบลดินดำ อำเภอจังหาร จ.ร้อยเอ็ด
ตำบลบ้านเขืองมีพื้นที่ทั้งหมด 32.31 ตารางกิโลเมตร เนื้อที 17,981 ไร่ คิดเป็นพื้นที่ทำการเกษตร 80 % ภูมิประเทศเป็นพื้นที่ราบเหมาะแก่การทำนาปี การคมนาคมติดต่อกับอำเภอเชียงขวัญ ระยะทาง 3 กิโลเมตร ติดต่อกับจังหวัดร้อยเอ็ด ระยะทาง 13 กิโลเมตร โดยใช้รถโดยสายประจำทาง สายร้อยเอ็ด – โพธิ์ชัย รถจักยานยนต์ รถยนต์ส่วนตัว รถสามล้อรับจ้าง
ทรัพยากร
ดิน พื้นที่ส่วนมากเป็นดินทราย บางส่วนเป็นดินเหนียวปนทราย เหมาะแก่การทำนา ทำสวน ปลูกไม้ผลประเภท มะม่วง มะขามเปรี้ยว ชมพู่ มะนาว ปลูกพืชผักในฤดูหนาว ปลูกข้าวโพด หลังฤดูกาลทำนา
ป่าไม้ สภาพป่าไม้ส่วนมากจะเป็นต้นไม้อยู่ตามทุ่งนาไม่มีป่าที่อุดมสมบูรณ์ ปัจจุบันมีการรณรงค์ส่งเสริมการปลูกสวนป่าชุมชนโดยปลูกไม้โตเร็ว เช่น ยูคาลิปตัส กระถินณรงค์ และไม้ผล เช่น มะขาม มะม่วง
แหล่งน้ำ ตำบลบ้านเขือง มีแหล่งน้ำธรรมชาติคือ บุ่งไข่นก พื้นที่ประมาณ 750 ไร่ และมีหนองน้ำธรรมชาติอยู่ทั่วไป เช่น หนองฮ้าง ม.9 หนองฮี ม.12 หนองฮูแข้ ม.12 หนองหลุบ ม.10



เขตการปกครอง
ตำบลบ้านเขืองแบ่งการปกครองออกเป็น 12 หมู่บ้าน มีกำนันตำบลบ้านเขือง เป็นผู้นำท้องที่ระดับตำบลและผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการหมูบ้านดูแลการปกครองในระดับหมู่บ้าน มีที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเขือง ตั้งอยู่หมู่ที่ 9 ตำบลบ้านเขือง ถนนร้อยเอ็ด – บ้านเขือง จำนวน ครัวเรือน1,622 ครัวเรือน จำนวนประชากร ชาย3,161 คน หญิง 3,176 คน รวม 6,337 คน
เขตการปกครอง
ตำบลบ้านเขือง แบ่งเขตการปกครอง ออกเป็น 12 หมู่บ้าน



สภาพทางเศรษฐกิจการประกอบอาชีพ
ประชากรมีอาชีพหลักคือทำนา อาชีพรองคืออุตสาหกรรมในครัวเรือนทำฟืมทอผ้า เพาะเห็ด แปรรูปเห็ด ค้าขายรถเร่ ตามฤดูกาล ขายถ้วยชาม ขายมีดเคียว เสียม ขายต้นกล้าพันธุ์ไม้ ขายลูกปลา การเพาะพันธุ์ปลา การเลี้ยงจิ้งหรีด การปลูกผัก รายได้เฉลี่ยต่อครอบครัวต่อปี 25000. - 35,000. บาท สถาบันทางการเงินตำบลบ้านเขือง มีธนาคารเพื่อการเกษตร, ธนาคารออมสิน กองทุนออมทรัพย์กลุ่มสตรี และกองทุนหมู่บ้านของรัฐบาล ให้การสนับสนุนด้านแหล่งเงินทุนแก่ประชาชนในตำบลบ้านเขือง

สภาพทางสังคม
มีผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้นำหมู่บ้าน มีกำนันเป็นผู้ดูแลการปกครองระดับตำบล มีองค์การบริหารส่วนตำบลดูแลการปกครองส่วนท้องถิ่นตั้งอยู่ ม. 9 ประชาชนทั้งหมดนับถือศาสนาพุทธ เคารพผู้อาวุโสกว่า ปฏิบัติตาม ฮีตสิบสองคลองสิบสี่ เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

ด้านสาธารณสุข
ตำบลบ้านเขืองมีสถานที่ให้บริการด้านสาธารณสุข คือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขือง มีหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ให้บริการด้านสาธารณสุขจากโรงพยาบาลร้อยเอ็ดบริการที่ทุกวันอังคาร และมีศูนย์สาธารณสุขมูลฐานประจำหมู่บ้านทุกหมู่บ้าน จำนวน 13 แห่ง มี อ.ส.ม. หมูบ้านละ 10 คนให้บริการด้านสาธารณสุขมูลฐานระดับหมู่บ้าน
ทำเนียบผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเขือง

นายวชิระยุทธ์ พาหะนิชย์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเขือง
นางสาวรามาวดี คำภักดี รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเขือง
นายวิชัย วงค์จันดา รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเขือง
นายสุริยา ฤทธิแสง เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเขือง
จ.ส.อ.ฉลอง ทุ่งฝนภูมิ ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเขือง
นาย เยี่ยม ทรงศรี ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเขือง

ด้านการศึกษา
การศึกษาในระบบโรงเรียน
ตำบลบ้านเขืองมีสถานที่ให้การศึกษาแก่ประชาชนในตำบล คือ โรงเรียนประถมศึกษา จัดการศึกษาระดับ ก่อนประถม และระดับประถมศึกษา จำนวน 4 แห่ง คือ
1. ร.ร.บ้านหวายหลึม ตั้งอยู่ หมู่ที่11 รับผิดชอบจัดการศึกษาหมู่ที่.6,7,11 ต.บ้านเขือง หมู่ที่1 ต.พระเจ้าจัดเป็น ร.ร.ขนาดกลาง
2. โรงเรียนบ้านดอนพยอมน้อย ตั้งอยู่ หมู่ที่4 รับผิดชอบจัดการศึกษา หมู่ที่.4,8 ต.บ้านเขือง จัดเป็น ร.ร.ขนาดเล็ก
3. โรงเรียนบ้านโนนข่า ตั้งอยู่ หมู่ที่ 5 รับผิดชอบจัดการศึกษา หมู่ที่ 5 ต.บ้านเขือง จัดเป็น ร.ร.ขนาดเล็ก
4. โรงเรียนบ้านเขือง ตั้งอยู่หมู่ที่ 3,12 รับผิดชอบจัดการศึกษา หมู่ที่1,2,3,9,10,12 ,13 ต.บ้านเขือง จัดเป็น ร.ร.ขนาดใหญ่ รับผิดชอบจัดการศึกษาระดับ มัธยมศึกษา ขยายโอกาส เปิดสอน ระดับ ม.1 – ม.3


การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
กศน.ตำบลบ้านเขืองตั้งอยู่ หมู่ที่ 12 บริเวณวัดป่าสุทธิประชาสามัคคี ตำบลบ้านเขืองรับผิดชอบการจัดการศึกษาแก่ประชาชนที่อยู่นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จัดการศึกษาพื้นฐาน การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพและทักษะชีวิต การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน และการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย โดยมี หัวหน้า กศน.ตำบล ครูอาสามัครการศึกษานอกโรงเรียนและครูศูนย์การเรียนชุมชน ,ศูนย์การเรียนชุมชนบ้านทุ่งสว่างสามัคคี ร่วมรับผิดชอบจัดการศึกษา ภายใต้การดูแลศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด รูปแบบการจัดการศึกษาภายใต้การดูแลคณะกรรมการ กศน.ตำบลบ้านเขือง
มีบุคลากรร่วมจัดการศึกษาดังนี้
-นายกิมสันต์ ศรีเนตร ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเชียงขวัญ
-นางสำเนียง เพิ่มผล ครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอเชียงขวัญ
-นายเอนกพงษ์ เพิ่มผล หัวหน้า กศน.ตำบลบ้านเขือง
-นายณรงค์ สุบุญสันธิ์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น สาขาการเพาะเห็ด
-นายหลวน ชรารัตน์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น สาขาศิลปกรรม แกะสลักไม้ ปูน
-นายเจริญรัตน์ แสงสวัสดิ์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น สาขาเกษตรกรรม การเพาะปลาน้ำจืด
-นางจันทร์เรียง แสงสวัสดิ์ ภูมิปัญญาท้องถิ่นการเลี้ยงจิ้งหรีด
- นางสังวาลย์ สุบุญสันธิ์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น สาขาการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเห็ด
-นายสิงห์ เจริญเขต ภูมิปัญญาท้องถิ่น สาขาหมอสูตรขวัญ
-นายศิลา บัวเลิง ภูมิปัญญาท้องถิ่นหมอน้ำมัน สะเดาะเคราะห์
-ด้านศาสนา
ด้านศาสนา ประชาชนตำบลบ้านเขืองนับถือศาสนาพุทธ 100 % มีวัดและสำนักสงฆ์เป็นศาสนสถานที่ชาวบ้านชุมชนรวมกันจัดสร้างจำนวน 8 แห่ง
1.วัดอัมพวัน ม.10 บ้านน้อยศรีจันทร์
2.วัดศรีจันทร์ ม.9 บ้านศรีจันทร์
3.วัดสว่างอารมณ์ ม.12 บ้านทุ่งสว่างสามัคคี
4.วัดโพธิ์ศรี ม.6 บ้านหวายหลึม
5.วัดประชาอุทิศ ม.4 บ้านพยอมน้อย
6.วัดกตัญญูอนุสรณ์ ม.7 บ้านหัวดง
7.วัดบรรพตธรรมวาส ม.7 บ้านหัวดง
8.วัดป่าสุทธิประชาสามัคคี ( สำนักสงฆ์ ) ม.12 บ้านทุ่งสวางสามัคคี





ส่วนที่ 2 ข้อมูลพื้นฐาน กศน.ตำบลบ้านเขือง
ประวัติ กศน. ตำบลบ้านเขือง
กศน.ตำบลบ้านเขือง อาคารตั้งอยู่บริเวณวัดป่าสุทธิประชาสามัคคี หมู่ที่ 12 ตำบลบ้านเขือง อำเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นอาคารเอกเทศ มีเนื้อที่รอบบริเวณประมาณ 3 ไร่ ใช้งบประมาณก่อสร้างจากผู้มีจิตศัทธาร่วมบริจาค โดยการนำของพระครูมงคลสมณวัตน์ หรือหลวงพ่อสุทธิสมพงษ์ กันตธัมโม กศน.ตำบลบ้านเขือง ตัวอาคารมาตรฐานเนื้อที่ภายในอาคาร 250 ตรม.ก่อสร้างเสร็จในปีพ.ศ.2536 และหลวงพ่อได้มอบให้กศน จังหวัดร้อยเอ็ดโดยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้มอบให้ ผอ.กศน จังหวัดร้อยเอ็ด นายวิจิตร คงสัตย์ เป็นผู้รับมอบและมอบอาคารให้เป็นสถานที่ ศรช.ตำบลบ้านเขือง เพื่อจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของนักศึกษา กศน.สายสามัญ สายอาชีพ และการศึกษาตามอัธยาศัย ปี พศ. 2538 มีการประกาศจัดตั้ง ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอทั่วประเทศ อำเภอเชียงขวัญใช้อาคารศูนย์การเรียนชุมชนตำบลบ้านเขืองเป็นสถานที่ทำการชั่วคราวของศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนกิ่งอำเภอเชียงขวัญ/ห้องสมุดกิ่งอำเภอเชียงขวัญ เมื่อปี พ.ศ. 2543 ได้ประสานงบประมาณฝึกอบรมอาชีพช่างก่อสร้าง จากสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดร้อยเอ็ดจัดสร้างอาคารใหม่ ณ ที่สาธารณประโยชน์กิ่งอำเภอเชียงขวัญให้จึงย้ายมาที่ทำการใหม่เมื่อเดือน พฤศจิกายน 2543 อาคารใช้เป็นที่ทำการ ศรช.ตำบลบ้านเขืองจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนร่วมกับเครือข่ายในชุมชนต่อไป
ปีงบประมาณ 2552 สนง.กศน. มีนโยบายให้จัดตั้ง กศน.ตำบลทั่วประเทศ ยกระดับ ศรช.ตำบลเป็น กศน.ตำบล กศน.ตำบลบ้านเขือง ได้ร่วมกับเครือข่ายดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับเครือข่ายและพัฒนา ศรช.ตำบลเป็น กศน.ตำบลบ้านเขือง เมือวันที่ 11 ธันวาคม 2552 ทำพิธีเปิดศูนย์ กศน.ตำบลบ้านเขืองและงบประมาณสนับสนุนจากท่านประเกียรติ นาสิมมา สส.สัดส่วนพรรคเพื่อไทย ซึ่งเป็นบุคคลที่มีพื้นเพตำบลบ้านเขือง ปัจจุบัน กศน.ตำบลบ้านเขือง เป็นแหล่งเรียนรู้ของประชาชนในชุมชนในตำบลบ้านเขือง และผู้ที่สนใจใฝ่หาความรู้ สถานที่ตั้งอยู่ใกล้ชุมชน การคมนาคมสะดวก มีภูมิปัญญาท้องถิ่นในสาขาต่างๆให้บริการความรู้ด้านทักษะความรู้อาชีพในสาขาต่างๆ เช่น สาขาการทำฟืมทอผ้า การเพาะเห็ด แปรรูปผลิตภัณฑ์จากเห็ด ช่างวิจิตรศิลป์ แหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง การเพาะพันธุ์ปลา การเพาะเลี้ยงจิ้งหรีด มีผู้สนใจเรียนรู้อย่างต่อเนื่องทั้งภายในและภายนอกชุมชน บริเวณจัดกิจกรรม บริเวณภายในและภายนอก สะอาด ร่มรื่น เหมาะสมแก่การจัดกิจกรรม กศน./ ชุมชน ตั้งอยู่ใกล้ชุมชน การคมนาคมสะดวกและปลอดภัยแก่ผู้ใช้บริการ ตัวอาคารมีสถานที่จัดกิจกรรม ห้องเก็บสื่อ / อุปกรณ์ อย่างปลอดภัย ตัวอาคารมีหน้าต่าง ไฟฟ้าให้ แสงสว่างได้เพียงพอในการจัดกิจกรรมต่างๆ มีห้องน้ำที่ถูกสุขลักษณะพร้อมใช้บริการทุกเมื่อจำนวน 2 ห้อง มีบุคคลากรที่รับผิดชอบดำเนินการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ นายเอนกพงษ์ เพิ่มผล หน.กศน.ตำบลบ้านเขือง นายศิริชัย มะโนมัย ครูประจำกลุ่มผู้พิการ และนางสำเนียง เพิ่มผล ครูอาสามัคร นายอานนท์ พันธะไชย ครูประจำศูนย์การเรียน ให้บริการแก่กลุ่มเป้าหมายและเครือข่าย




สภาพปัจจุบัน กศน.ตำบลบ้านเขือง
1.1. สถานที่ตั้ง ในบริเวณวัดป่าสุทธิประชาสามัคคี บ้านทุ่งสว่างสามัคคี ม.12 ต.บ้านเขือง อำเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด สภาพอาคาร
 เอกเทศ อาศัย ชื่อหน่วยงานที่
ยังไม่มีสถานที่ที่ชัดเจน
1.3. มีผู้รับผิดชอบดูแลประจำ ดังนี้
- นายเอนกพงษ์ เพิ่มผล หน. กศน.ตำบลบ้านเขือง อ.เชียงขวัญ
- นางสำเนียง เพิ่มผล พนักงานราชการ / ครูอาสาสมัครฯ กศน.อ.เชียงขวัญ
- นายศิริชัย มะโนมัย ครูประจำกลุ่มผู้พิการ
-นายอานนท์ พันธะไชย ครูประจำศูนย์การเรียน

ด้านปัจจัย
1. สภาพทั่วไป
กศน.ตำบลบ้านเขือง เป็นแหล่งเรียนรู้ของประชาชนในชุมชนในตำบลบ้านเขือง และต่างถิ่นที่สนใจใฝ่หาความรู้ สถานที่ตั้งอยู่ใกล้ชุมชน การคมนาคมสะดวก มีภูมิปัญญาท้องถิ่นในสาขาต่างๆให้บริการความรู้ด้านทักษะความรู้อาชีพในสาขาต่างๆ เช่น สาขาการทำฟืมทอผ้า การเพาะเห็ดแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเห็ด ช่างวิจิตรศิลป์ แหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง การเพาะพันธุ์ปลา การเพาะเลี้ยงจิ้งหรีด มีผู้สนใจเรียนรู้อย่างต่อเนื่องทั้งภายในและภายนอกชุมชน
1.1. ตัวอาคารมาตรฐานเนื้อที่ภายในอาคาร 250 ตรม.มีเนื้อที่เพียงพอในการจัดกิจกรรม
1.2. บริเวณภายในและภายนอก สะอาด ร่มรื่น เหมาะสมแก่การจัดกิจกรรม กศน./ ชุมชน
1.3. ตั้งอยู่ใกล้ชุมชน การคมนาคมสะดวกและปลอดภัยแก่ผู้ใช้บริการ
1.4. ตัวอาคารมีสถานที่จัดกิจกรรม ห้องเก็บสื่อ / อุปกรณ์ อย่างปลอดภัย
1.5. ตัวอาคารมีหน้าต่าง ไฟฟ้าให้ แสงสว่างได้เพียงพอในการจัดกิจกรรมต่างๆ
1.6. มีห้องน้ำที่ถูกสุขลักษณะพร้อมใช้บริการทุกเมื่อจำนวน 2 ห้อง
2. มีบุคคลากรที่รับผิดชอบดำเนินการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้
2.1. นายเอนกพงษ์ เพิ่มผล หัวหน้า กศน.ตำบลบ้านเขือง ให้บริการสัปดาห์ละ
ไม่น้อยกว่า 3 วัน บ้านที่อยู่อาศัยใกล้ ศรช. สามารถให้บริการได้ทั้งนอกและใน
เวลาราชการ
2.2. มีอาสาสมัคร คือนักศึกษาสายสามัญ / ศิษย์เก่า / อสม.ช่วยให้บริการ ดูแลร่วมพัฒนา
2.3. มีคณะกรรมการ ดำเนินงานใน กศน.ตำบลบ้านเขือง รับสมัครคัดเลือก จากทุก
เครือข่าย ตามข้อตกลง สนง.กศน.
2.4. มีสมาชิกกลุ่มผู้สูงวัยร่วมดำเนินการจัดการเรียนรู้ร่วมกัน
2.5. เป็นที่ตั้งสภาวัฒนาธรรมตำบลบ้านเขืองตามโครงการวัฒนธรรมไทยสายใยชุมชน
2.6. เป็นที่ทำการสภาองค์กรชุมชนตำบลบ้านเขือง
3. มีสื่อ - อุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้
3.1. สื่อหนังสือสื่อสิ่งพิมพ์ เอกสารแผ่นพับ ได้รับการสนับสนุนจาก กศน.อำเภอ เชียงขวัญ ผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาค
3.2. โทรทัศน์สี 21 นิ้ว จำนวน 1 เครื่อง ให้บริการใน ศรช
3.3. เครื่องเล่นวีซีดี 1 เครื่อง
3.4. เครื่องเล่นวีดีโอให้บริการ 1 เครื่อง
3.5. คอมพิวเตอร์ ประชาชนบริจาคให้บริการ 1 เครื่อง อบต.บ้านเขืองอุดหนุน 1 เครื่อง
3.6. เครื่องพิมพ์ดีด เอกชนบริจาค 9 เครื่อง
3.7. ม้วนวีดีโอหมุนเวียนใช้ใน ศรช. ยืมจาก กศน.อำเภอเชียงขวัญและ อบต.บ้านเขืองสนับสนุน
3.8. หนังสือพิมพ์ หมุนเวียนจาก กศน.อำเภอเชียงขวัญ
3.9. สื่อนิทรรศการความรู้สายสามัญ อาชีพ ข้อมูลชุมชน ครูอาสา ฯ ครู ศรช. ภูมิปัญญาท้องถิ่น นักศึกษา กศน.สายสามัญสายอาชีพร่วมจัดทำ
3.10. สื่อตัวอย่าง นิทรรศการ ของจริงองค์ความรู้การเพาะเห็ด การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเห็ด และสาขาอื่นๆ ภูมิปัญญาท้องถิ่นสนับสนุนร่วมจัดกระบวนการเรียนรู้
4. มีข้อมูลสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
4.1. มีข้อมูลพื้นฐานชุมชน ภายในตำบลบ้านเขือง 13 หมู่บ้าน
4.2. มีทำเนียบภูมิปัญญาท้องถิ่น / ผู้รู้ในชุมชนตำบลบ้านเขือง อำเภอเชียงขวัญ
4.3.มีการจัดนิทรรศการวันสำคัญเช่น วันแม่แห่งชาติ วันพ่อแห่งชาติ วันรณรงค์งดสูบบุหรี่โลก วันรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด วันสงกรานต์ วันเข้าพรรษา วันออกพรรษา วันมาฆบูชา วันวิสาขาบูชา
4.4. มีรายชื่อคณะกรรมการ กศน.ตำบลบ้านเขือง
4.5. มีข้อมูลผู้เรียน / ผู้รับบริการ สายสามัญ สายอาชีพ กิจกรรมการเรียนรู้
4.6. มีสมุดตรวจเยี่ยมบันทึกแสดงความคิดเห็นของผู้ใช้บริการ
4.7. มีบันทึกสถิติผู้ใช้บริการสายสามัญ / สายอาชีพ/การศึกษาตามอัธยาศัย
5. มีครุภัณฑ์ที่จำเป็นต่อการส่งเสริมการเรียนรู้
5.1. มีโต๊ะ – เก้าอี้ ได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก อบต.บ้านเขือง เพียงพอสำหรับผู้ใช้บริการ
5.2. มีตู้เหล็ก / ชั้นเหล็กใส่เอกสาร / ชั้นวางสื่อ สนับสนุนจาก อบต.บ้านเขือง และกศน.อำเภอเชียงขวัญ
5.3. มีเครื่องคอมพิวเตอร์ ให้บริการ เครือข่ายและกลุ่มเป้าหมาย 2 เครื่อง
5.4. มีเครื่องพิมพ์ดีด เอกชนบริจาค 9 เครื่อง
5.5. มีเครื่องขยายเสียง สื่อช่วยสอนใช้จัดกิจกรรม 1 ชุด
6. มีการบริหารจัดการ กศน.ตำบลบ้านเขือง โดยชุมชนมีส่วนร่วม
กศน.ตำบลบ้านเขือง เป็นศูนย์กลางการจัดการเรียนรู้จัดโดยชุมชนเพื่อชุมชนโดยแท้จริง มีภูมิปัญญาท้องถิ่นร่วมดำเนินการจัดกระบวนการเรียนรู้ มีสมาชิกลุ่มที่ดำเนินกิจกรรมต่อเนื่องได้รับการยอมรับจากชุมชนและองค์กรต่างๆ ในระดับท้องถิ่น และสนับสนุนงบประมาณการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกัน
6.1. ครูอาสาฯ / ภูมิปัญญาท้องถิ่น / ผู้นำชุมชน / ร่วมดำเนินการคณะกรรมการ ศรช.
มีโครงสร้างบริหาร กศน.ตำบลบ้านเขือง
6.2. คณะกรรมการมีแผนงาน / โครงการกิจกรรมที่ดำเนินงานใน ศรช.ชัดเจน
6.3. คณะกรรมการขอรับงบประมาณสนับสนุนจาก อบต.บ้านเขือง
6.4. คณะกรรมชุมชนร่วมติดตามประเมินและสรุปรายงานการจัดกิจกรรมร่วมกับ หัวหน้า กศน.ตำบลบ้านเขืองและครูอาสาฯ


ด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้
7. มีการสำรวจสภาพปัญหาความต้องการของคนในชุมชน
7.1. หัวหน้า กศน.ตำบล / ครูอาสาฯ/ ครูภูมิปัญญาท้องถิ่น / อบต./ ผู้นำชุมชน สำรวจสภาพปัญหาความต้องการของชุมชน
7.2. ส่วนราชการและทีมประชาคมหมู่บ้านตำบลบ้านเขืองร่วมจัดเวทีประชาคมสำรวจความต้องการ ของประชาชนในชุมชนทุกปี
7.3. มีการนำข้อมูลที่ได้มาร่วมวิเคราะห์จัดลำดับความสำคัญของปัญหา / จัดทำโครงการ
7.4. มีการจัดข้อมูลสารเทศของชุมชนภายใน กศนตำบล.บ้านเขือง
7.5. มีการจัดทำแผนการเรียนรู้ของชุมชนร่วมกัน อบต.บ้านเขืองเป็นเจ้าของงบประมาณ

8. มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบและวิธีการที่หลากหลายสอดคล้องกับความต้องการและความสนใจของผู้รับบริการ
8.1. กศน.ตำบลบ้านเขืองร่วมกับชุมชนเครือข่าย สาธารณสุขตำบลบ้านเขือง อบต.บ้านเขือง จัดการศึกษาพื้นฐาน ระดับ ม.ต้น ม.ปลาย ภายใน กศน.ตำบลบ้านเขือง
8.2. ได้จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ ร่วมกับครูภูมิปัญญาท้องถิ่น วิทยากร เครือข่ายภาครัฐเอกชน เช่น อบต.บ้านเขือง อบจ.ร้อยเอ็ด แรงงานจังหวัดร้อยเอ็ด สำนักงานจัดหางาน จ.ร้อยเอ็ด วิทยาลัยอาชีวศึกษาร้อยเอ็ด
8.3.ได้จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต อบรมอาสาสมัครประสานพลังแผ่นดิน ตำบล บ้านเขือง ผู้สูงวัยใฝ่ใจสุขภาพ
8..3. ได้จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน ร่วมกับ อสม.โครงการส่งเสริมประชาธิปไตย โครงการผู้สูงวัยใส่ใจชุมชน
8.5. ได้ร่วมกับชุมชนจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ร่วมจัดกิจกรรมหมู่บ้านแห่งการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง บ้านทุ่งสว่างสามัคคี หมู่12 ตำบลบ้านเขือง โครงการชุมชนอยู่ดีมีสุข ปกครองอำเภอเชียงขวัญ โครงการจัดการเรียนรู้โดยภูมิปัญญาท้องถิ่นแหล่งเรียนรู้ภายในชุมชน
8.6. กศน. ตำบลบ้านเขือง ได้ร่วมกับชุมชนสภาวัฒนธรรมตำบลจัดกิจกรรม อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมประเพณีบุญบ้องไฟประจำปีของหมู่บ้าน ตำบลบ้านเขือง สืบสานอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมการทำฟืมทอผ้าเป็นเอกลักษณ์ท้องถิ่น
9. มีการจัดกิจกรรมที่กระตุ้นให้ผู้รับบริการสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
9.1. หัวหน้า กศน.ตำบลบ้านเขือง ครูอาสาฯ/ภูมิปัญญา จัดมุมแนะแนวให้บริการการศึกษาสายสามัญสายอาชีพ ตอบคำถามทางโทรศัพท์ เรียนรู้ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ให้บริการทุกกลุ่มเป้าหมาย ร่วมกับแหล่งเรียนรู้ในชุมชนจัดกระบวนการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ผู้รับบริการเรียนรู้ด้วยตนเอง ตามอัธยาศัยตลอดเวลา ได้รับการยอมรับในชุมชนและดีเด่นระดับอำเภอ กศน. อำเภอเชียงขวัญ
9.2. ให้บริการหมุนเวียนสื่อการเรียนรู้เช่นสื่อหนังสือ / สื่อวีดีทัศน์ แก่ผู้รับบริการ
9.3. มีทำเนียบแหล่งเรียนรู้ภายในชุมชนจัดนิทรรศการภายใน กศน.ตำบล ทุกกิจกรรม
9.4. มีแหล่งการเรียนรู้ทั้งเอกสารแผ่นพับ / สื่อบุคคล / ตัวอย่างของจริง เช่น แผ่นพับการทำเห็ดสวรรค์ โรงเพาะเห็ด ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพาะเห็ดแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเห็ด การถักสานผลิตภัณฑ์จากต้นกกและทอเสื่อกกลายขิด การเพาะพันธุ์ปลา การเลี้ยงจิ้งหรีด
9.5. มีการแนะนำการศึกษาแสวงหาความรู้ด้วยตนเองตลอดชีวิตเช่น ดูโทรทัศน์ อ่านหนังสือ สื่อวีซีดี และ วีดีโอ สืบค้นทางอินเตอร์เน็ต
9.6. มีหลักสูตรการเพาะเห็ด / การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเห็ด/การเพาะพันธุ์ปลา/การเลี้ยงจิ้งหรีด/เศรษฐกิจพอเพียง สามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง
9.7. มีการจัดทำโครงการ ดำเนินกิจกรรมร่วมกันกับชุมชนองค์กร เครือข่าย
9.8. มีการจัดทำแฟ้มสะสมงาน ครู / นักศึกษา /ภูมิปัญญาท้องถิ่น ชัดเจนบริการได้
9.9.ร่วมกับเครือข่าย อบต.บ้านเขือง แนะนำวิธีการใช้อินเตอร์เน็ต เรียนรู้ตลอดชีวิต
10. มีการติดตามและประเมินผลที่หลากหลายทั้งภายในและภายนอก ศรช. ตามสภาพที่แท้จริง
10.1. มีการประเมินผลผู้เรียนก่อน – หลัง ร่วมกิจกรรม เยี่ยมบ้านผู้เรียนรายบุคคล
10.2. เครือข่าย จนท.พัฒนาชุมชน อบต.มีส่วนร่วมในการติดตามประเมินผล
10.3. สอบถามความพึงพอใจในการใช้บริการ กศน. ตำบลบ้านเขือง โดยใช้แบบสอบถาม
/ สัมภาษณ์ / สังเกตุการร่วมกิจกรรมเรียนรู้ของผู้เรียน
10.4. สรุปรายงานผลการจัดกิจกรรมร่วมกับชุมชนเครือข่าย
10.5. ร่วมกับชุมชนนำผลการประเมินไปใช้ในการวางแผนการจัดกิจกรรมร่วมกัน



11. ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
11.1. มีการจัดทำข้อตกลงร่วมกันในการจัดการศึกษาพื้นฐานร่วมกับ อบต.บ้านเขือง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชนตำบลบ้านเขือง
11.2. มีภาคีเครือข่ายที่ร่วมจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เช่นพัฒนาฝีมือแรงงาน จ.ร้อยเอ็ด สำนักงานจัดหางาน จ.ร้อยเอ็ด, อบต.บ้านเขือง, อบจ.ร้อยเอ็ด วิทยาลัยอาชีวศึกษาร้อยเอ็ด
11.3. ภาคีเครือข่ายได้ร่วมจัดกิจกรรม สนับสนุนงบประมาณ บุคลากร วัสดุอุปกรณ์ที่ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกัน
11.4. ได้สร้างแรงจูงใจในการจัดกิจกรรมร่วมกับภาคีเครือข่ายโดยประสานกลุ่มเป้าหมายและจัดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกัน
12. มีการจัดกระบวนการบริการสื่อที่หลากหลายทั้งภายในและภายนอก ศรช.
12.1. ภูมิปัญญาและอาสาสมัครนักศึกษาให้บริการยืม - คืน สื่อ หนังสือ วารสาร วีซีดี วีดีโอ
12.2. มีภูมิปัญญาท้องถิ่น ครูศรช. ครูอาสา ฯ ให้บริการค้นคว้าตอบคำถาม
สายสามัญ/สายอาชีพ/การศึกษาตามอัธยาศัย
12.3. บุคลากรครูศรช. ครู อาสาฯ / ภูมิปัญญาร่วมดำเนินการจัดกิจกรรมเคลื่อนที่ร่วมกับเครือข่ายในระดับตำบล อำเภอและระดับจังหวัด
12.4. มีการให้บริการความรู้ทางวิทยุชุมชนในระดับอำเภอคือวิทยุชุมชนพระธาตุ ระดับจังหวัดคือสถานีวิทยุกรมประมงภาคร่วมด้วยช่วยกัน วิทยุชุมชนศิริมงคลรายการร่วมคิดร่วมทำ
12.5. มีการให้บริการความรู้ทางหอกระจายข่าวโดยผู้นำชุมชนสมาชิกกลุ่มสตรีแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเห็ด การทอเสื่อกกลายขิด
12.6. นำสมาชิกกลุ่มสตรี / กลุ่มออมทรัพย์ เรียนรู้ รับบริการอินเตอร์เน็ต
กศน.ตำบล.บ้านเขือง
12.7. มีการส่งต่อผู้รับบริการไปยังแหล่งเรียนรู้สถานประกอบการฝึกอาชีพ เช่นการนวด
แผนไทย / การทำงานในห้างร้านบริษัทต่าง ๆ

13. คณะกรรมการ กศน.ตำบล ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
13.1. มีการประชุมคณะกรรมการ กศน.ตำบล.ปีละ 2 ครั้งประชุมย่อยรายเดือน/ ครั้ง
13.2. คณะกรรมการอบรมพัฒนาตนเองร่วมกับเครือข่าย ปีละมากว่า 3 ครั้ง
13.3. คณะกรรมการมีการศึกษาดูงานร่วมกับเครือข่ายมากว่า 3 ครั้ง
13.4. คณะกรรมการมีการสรุปผลการประชุม การอบรม การศึกษาดูงานทุกครั้ง

14. หัวหน้า กศน.ตำบล / พนักงานราชการ / ครูประจำกลุ่ม ผู้ได้รับมอบหมายและปฏิบัติงานใน กศน.ตำบล บ้านเขือง.ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
14.1. พนักงานราชการ / ครูอาสาฯ ที่รับผิดชอบ มีการประชุมปีละ 3 - 4 ครั้ง
14.2. พนักงานราชการ / ครูอาสาฯ ที่รับผิดชอบ มีการอบรมพัฒนาตนเอง
ปีละ 3 -5 ครั้ง
14.3. พนักงานราชการ / ครูอาสาฯ ที่รับผิดชอบ ได้ร่วมโครงการศึกษาดูงาน
ปีละ 3 – 4 ครั้ง
14.4. พนักงานราชการ / ครูอาสาฯ ที่รับผิดชอบ มีการบันทึกการประชุม
การอบรม การศึกษาดูงานทุกครั้ง


ด้านผลผลิต
15. ผู้รับบริการสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง
15.1. ผู้รับบริการจัดทำสมุดกิจกรรมการเรียนรู้ประสบการณ์การเพาะเห็ด / กิจกรรมการเรียนรู้สายสามัญ / การเรียนรู้แหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านแสงสวัสดิ์ฟาร์ม
15.2. ผู้รับบริการได้จัดทำสมุดบันทึก / หลักฐานการขึ้นทะเบียน เช่น กลุ่มวิสาหกิจชุมชนการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเห็ด ศูนย์การเรียนชุมชนบ้านเขือง
15.3. ผู้รับบริการมีการลงเวลาร่วมกิจกรรมสายสามัญ / สายอาชีพ
15.4. ผู้รับบริการมีการสรุปการเข้าร่วมกิจกรรม
15.5. ผู้รับบริการได้ร่วมถ่ายภาพกิจกรรมใน กศน.ตำบลบ้านเขือง
16. ผู้รับบริการสามารถนำความรู้ไปใช้ในการสร้างงาน / อาชีพและประโยชน์ในสังคม ชุมชน ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
16.1. ผู้รับบริการมีการจัดทำสมุดบันทึกบันชีครัวเรือน ร่วมกับ สหกรณ์
จังหวัด ร้อยเอ็ด และ ธกส. สาขาเชียงขวัญ
16.2. ผู้รับบริการได้ร่วมกิจกรรมของชุมชน เช่นการพัฒนาทำความสะอาด
ในหมู่บ้าน การร่วมสืบสานอนุรักษ์ประเพณีบุญบั้งไฟประจำปี
16.3. ผู้รับบริการมีการรวมกลุ่มประกอบอาชีพเช่นกลุ่มอาชีพเลี้ยงจิ้งหรีด
16.4. ครูอาสา ฯ / อสม. / กรรมการหมู่บ้าน นักศึกษา แบ่งหน้าที่
ติดตาม ผู้รับบริการ ศรช. รายงานกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
16.5. หัวหน้า กศน.ตำบล.ครูอาสาฯและภูมิปัญญาท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ได้ร่วมวิเคราะห์
สรุปรายงานข้อมูล
7. ผู้รับบริการมีความตระหนักในการใช้พลังงาน เห็นคุณค่าในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
17.1. ผู้รับบริการได้เข้าร่วมกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ของชุมชน เช่น
โครงการปลูกป่าลดปัญหาโลกร้อนเฉลิมพระเกียรติ
17.2. ผู้รับบริการนักศึกษาได้ร่วมเข้าค่ายอบรม การทำปุ๋ยชีวภาพใช้ในชุมชน
17.3. นักศึกษาสมาชิกกลุ่มอาชีพได้ร่วมศึกษาดูงานการใช้พลังงานทดแทน
17.4. ผู้รับบริการได้ร่วมจัดเวทีประชาคมในหมู่บ้านโครงการอยู่ดีมีสุข จัดทำโครงการปลูกป่าในที่สาธารณของชุมชน
17.5. ผู้รับบริการมีการรวมกลุ่มการทำปุ๋ยชีวภาพลดการใช้สารเคมี
17.6. สมาชิกกลุ่มร่วมการไฟฟ้าลดพลังงานการใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนเช่นเปิดไฟเท่าที่จำเป็น ถอดปลั้กคตู้เย็นเป็นบางครั้งเพื่อประหยัดพลังงานไฟฟ้า
18. ผู้รับบริการเห็นคุณค่า ภูมิใจในความเป็นไทย ภูมิปัญญา ศิลปวัฒนธรรมที่ดีงามของไทย
18.1. ผู้รับบริการเข้าร่วมกิจกรรมอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีบุญบั้งไฟประจำปี การสืบสานอนุรักษ์ อาชีพการทำฟืมทอผ้า
18.2. ผู้รับบริการร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่นตั้งชมรมผู้สูงอายุคุณครูของชุมชน ผู้สูงวัยใส่ใจชุมชน ร่วมกับชุมชนดำเนินกิจกรรมที่เป็นแบบอย่างที่ดีของชุมชน
18.3. ผู้รับบริการภูมิปัญญาท้องถิ่นประยุกต์นำขอบฟืมทอผ้ามาทำเป็นป้ายชื่อบ้านเลขที่
18.4. นักศึกษา / ภูมิปัญญาท้องถิ่นได้ร่วมพัฒนาและเผยแพร่แหล่งเรียนรู้ในชุมชน เช่นแหล่งเรียนรู้การทำฟืมทอผ้า / แหล่งเรียนรู้การเพาะเห็ดแปรรูปเห็ด / แหล่งเรียนรู้การเลี้ยงจิ้งหรีด / แหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง / การทอเสื่อกกลายขิด


18.5. ผู้รับบริการ / ครูอาสาฯ ได้นำเสนอบุคคลภูมิปัญญาต้นแบบในการเรียนเรียนรู้ เช่น
พ่อณรงค์ สุบุญสันธิ์ ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านเพาะเห็ดแปรรูปเห็ด
พ่อหลวน ชรารัตน์ ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านศิลปกรรม การแกะสลักไม้ ปูน
พ่อเจริญรัตน์ แสงสวัสดิ์ ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านเพาะพันธุ์ปลาเลี้ยงปลาชนิดต่างๆ
แม่จันทร์เรียง แสงสวัสดิ์ ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการเลี้ยงจิ้งหรีด
นายอรรถกร คำภักดี ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการทำฟืมทอผ้า
พระครูมงคล สมณวัฒณ์ ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านแต่กลอนลำ เผยแผ่ธรรมะ
19. ผู้รับบริการมีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน
19.1. นักศึกษาสายสามัญ อสม. ร่วมกับสถานีอนามัยตำบลบ้านเขืองร่วมจัดกิจกรรมตรวจสุขภาพประจำปีทุกปี
19.2. ครูศรช./ครูอาสา ฯ / นักศึกษา/ อสม.ร่วมจัดกิจกรรมเต้นแอโรบิคเพื่อสุขภาพ
19.3. นักศึกษาร่วมกับ อสม.จัดทำโครงการเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุในชุมชน
19.4. นักศึกษา / ครู ศรช./ ครูอาสาฯ ร่วมโครงการปั่นจักรยานต้านภัยยาเสพติดในวันรณรงค์ป้องกันต่อต้านยาเสพติดโลก
19.5. นักศึกษา / ครูอาสาฯ /ครู ศรช. /ภูมิปัญญาท้องถิ่นร่วมรณรงค์เชิญชวนประชาชนในชุมชนไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง ส.ส. / ส.ว. / สจ. /สท. เสริมสร้างวิถีประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
19.6. นักศึกษา / อสม. / ครูอาสาฯ ร่วมจัดทำโครงงานกำจัดลูกน้ำยุงลาย


แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น
กศน. ตำบลบ้านเขือง กศน.เชียงขวัญ

แหล่งเรียนรู้เพาะเห็ด แปรรูปผลิตภัณฑ์จากเห็ด
ภูมิปัญญา 1. นายณรงค์ สุบุญสันธิ์
2. นางสังวาลย์ สุบุญสันธิ์
สถานที่ตั้ง ศรช.บ้านเขือง 190 ม.12 ต.บ้านเขือง อ.เชียงขวัญ จ.ร้อยเอ็ด 45000 โทร. 043509065
ความรู้ความชำนาญ เพาะเห็ด แปรรูปผลิตภัณฑ์จากเห็ด
แหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านแสงสวัสดิ์ฟาร์ม
ภูมิปัญญา 1. นายเจริญรัตน์ แสงสวัสดิ์ สาขาเพาะพันธุ์ปลา
2. นางจันทร์เรียง แสงสวัสดิ์ สาขาเศรษฐกิจพอเพียง การเลี้ยงปลา/ การเลี้ยงจิ้งหรีด/เลี้ยงปลา/สุกร /ไก่/เป็ด / ปลูกผัก
สถานที่ตั้ง 90 ม.12 ต.บ้านเขือง อ.เชียงขวัญ จ.ร้อยเอ็ด 45000 โทร. 043509037
แหล่งเรียนรู้การทำฟืมทอผ้า
ภูมิปัญญา 1. นายอรรถกร คำภักดี การทำฟืมทอผ้า
2. นายพรมมา กิมภา การทำฟืมทอผ้า
3. นางพรพิมล ไพบูลย์ การทำฟืมทอผ้า การทำฟืมที่ระลึก
สถานที่ตั้ง 150/1 ม.12 ต.บ้านเขือง อ.เชียงขวัญ จ.ร้อยเอ็ด 45000 โทร. 043509066
ภูมิปัญญาท้องถิ่น
พระครูมงคลสมณวัฒน์ สาขา แต่งกลอนรำ เผยแผ่ธรรมะ
นายสิงห์ เจริญเขต สาขา หมอสูตรขวัญ
นางเทียมจันทร์ ไกรยราช สาขาทำพานบายศรี
นายหลวน ชรารัตน์ สาขางานวิจิตรศิลป์ งานแกะสลักไม้ งานแกะสลักต่างๆ งานปูน
นางโฮม จันทะคัด สาขาเกษตรกรรมการทำคลอดสุกร เลี้ยงสุกรขุน สุกรแม่พันธุ์
นายศิลา บัวเลิง สาขา หมอน้ำมัน
นายรินทร์ ชลเทพ สาขา ดนตรี
นายถวิล ชลเทพ สาขาเป่าแคลน
นายชัยวิชิต โนนน้อย สาขาจัดงานพิธีงานมงคล พิธีงานศพ
นายน้อย มะโนมัย สาขาจักสานไม้ไผ่


คณะ กรรมการ สถานศึกษา
กศน.ตำบลบ้านเขือง องค์กรนักศึกษา
กศน.ตำบลบ้านเขือง

นายวิชัย วงจันดา ประธานคณะกรรมการ
นายชัยวิชิต โนนน้อย รองฯ กรรมการ
นายสมพงษ์ คำภักดี รองฯ กรรมการ
นายดาวเรืองแสนมนตรี กรรมการ
นายประดิษฐ์ แน่นอุดร กรรมการ นายประยูร ชุมพล กรรมการ
นายเสถียร แสนมนตรี กรรมการ
นางณีรพรรณ เวียงสมุทร กรรมการ
นายณรงค์ สุบุญสันธิ์ กรรมการ
นายอรรถกร คำภักดี กรรมการ
นางแตงอ่อน ชลเทพ เหรัญญิก
น.ส.อมรรัตน์ ฤทธิแสง ผู้ช่วย เหรัญญิก
นายเอนกพงษ์ เพิ่มผล กรรมการ และเลขานุการ
นายสมพงษ์ คำภักดี ประธานกรรมการ
นายอุลัย ชรารัตน์ รองประธาน
นายนิวัฒน์ ศรีสองเมือง กรรมการ
นางวงวาส ปิ่นลออ กรรมการ
นายจิรายุ สท้านอาจ กรรมการ
นางงามพิศ แสงสุรินทร์ กรรมการ
นางวิไลพร ไวเจริญ กรรมการ
น.ส.ใหม่เจริญ เวียงอินทร์ กรรมการ
น.ส.อมรรัตน์ ฤทธิแสง กรรมการ / เลขานุการ

ตัวแทนอาสาสมัคร กศน.ตำบลบ้านเขือง
นายณรงค์ สุบุญสันธิ์


การวิเคราะห์ SWOT
การวิเคราะห์ SWOT กศน.ตำบลบ้านเขือง กศน.อำเภอเชียงขวัญ ปรากฏผลการวิเคราะห์ดังนี้
จุดแข็ง ( S = Strengths)
1. ผู้บริหารและครูได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
2. ครู บุคลากรทุกฝ่ายมีการทำงานเป็นทีม มีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนาการศึกษา
3. ผู้บริหารและครูมีความกระตือรือร้น สนใจใฝ่เรียนรู้ที่จะปฏิรูปการเรียนรู้และปฏิรูปการศึกษา
4. ผู้บริหาร บริหารงานโดยยึดหลักธรรมาภิบาลและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
5. ผู้บริหารมีสภาวะความเป็นผู้นำสูง เปิดโอกาสให้ครู บุคลากร กรรมการสถานศึกษา องค์กรนักศึกษา และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง มีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนาการศึกษา
6. ครู บุคลากร ส่วนมากเป็นคนในพื้นที่ ทำให้มีความคล่องตัวในการประสานงานที่ดี
7. มีแผนการใช้จ่ายเงินงบประมาณที่เป็นรูปธรรม และใช้จ่ายเงินงบประมาณตรงตามแผนงานโครงการ
8. ได้รับการสนับสนุนช่วยเหลือ การจัดกิจกรรมจากภาคีเครือข่ายเป็นอย่างดี เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และส่วนราชการของอำเภอเชียงขวัญ
9. ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาและพัฒนาผู้เรียน
10. มีภูมิปัญญาท้องถิ่นและแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมและพัฒนาศักยภาพผู้เรียน
11. ได้รับการสนับสนุนการจัดกิจกรรมจากองค์กร พระสงฆ์ ด้านการส่งเสริม คุณธรรม จริยธรรม

จุดอ่อน ( W = Weaknesses)
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน ในหมวดวิชาพื้นฐานยังไม่เป็นที่น่าพอใจ เช่น ภาษาไทย คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์ ซึ่งต้องได้รับการพัฒนา
2. ทักษะการคิดวิเคราะห์ การแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง การรักการอ่านของผู้เรียน ยังจำเป็นต้องได้รับการฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง
3. ครู บุคลากร ไม่เพียงพอ ไม่ครบวิชาเอก สอนไม่ตรงกับกลุ่มหมวดวิชาที่เรียนมา
4. ครู บุคลากรมีการย้ายออก – สอบเข้าใหม่เป็นประจำทำให้การปฏิบัติงานขาดความต่อเนื่อง
5. ไม่มีครู บุคลากร สนับสนุนงานด้านการเงิน พัสดุ ธุรการ
6. วัสดุ ครุภัณฑ์ฝึกอาชีพมีจำกัด ไม่เพียงพอ
7. อัตราส่วนผู้เรียนต่อครูมากเกินไป พื้นที่รับผิดชอบกว้างทำให้การดูแลช่วยเหลือผู้เรียนได้ไม่ทั่วถึง
โอกาส ( O = Opportunities)
1. ภาคีเครือข่ายให้ความร่วมมือในด้านทรัพยากร
2. ชุมชนมีแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย และเอื้อต่อการเรียนรู้
3. ผู้เรียนมีความต้องการที่จะพัฒนาตนเองด้านความรู้ พื้นฐาน ด้านอาชีพ และการดำรงชีวิต
4. การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการบริหารจัดการ ชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการและร่วมรับผิดชอบการจัดกิจกรรมในพื้นที่
จุดอ่อน (T = Threats )
1. เขตพื้นที่รับผิดชอบของครูมีความกว้างขวาง มีพื้นที่มาก จำนวนศูนย์การเรียนชุมชนกระจายกันอยู่ในพื้นที่ห่างไกล
2. ครูและบุคลากรที่รับผิดชอบศูนย์การเรียนชุมชนมีน้อย ยังไม่เพียงพอต่อการให้บริการผู้เรียน
3. ประชาชนมีฐานะเศรษฐกิจไม่ดี ต้องประกอบอาชีพเลี้ยงปากท้อง การสนับสนุนด้านการจัดการศึกษาจึงขาดการสนับสนุนให้เกิดผลดีตามที่คาดไว้
4. ครู / บุคลากรเช่น ครูอาสาสมัครฯ ครู ศรช. บรรณารักษ์จ้างเหมา ขาดขวัญกำลังใจ ไม่มีความมั่นคงในอาชีพ
5. ผู้เรียนเป็นบุคคลหลากหลายอาชีพและวัย มีปัญหาด้านเศรษฐกิจในครอบครัว
6. การจัดการศึกษาแก่ประชาชนยังไม่ครอบคลุมพื้นที่ เพราะอาณาเขตกว้างไกล
ปรัชญา
กศน.ตำบลบ้านเขือง ได้กำหนดปรัชญาการศึกษาคือ
“ คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น ”

วิสัยทัศน์
“ กศน.ตำบลบ้านเขือง มุ่งจัดกิจกรรม ร่วมกับภาคีเครือข่ายในการยกระดับการศึกษาสำหรับประชากรวัยแรงงานและผู้พลาดโอกาสทางการศึกษา อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ให้มีคุณภาพ ภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ”
วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาคนให้รอบรู้คู่คุณธรรม มีภูมิคุ้มกัน รู้เท่าทัน และมีความสุข พร้อมเผชิญการเปลี่ยนแปลงก้าวสู่สังคมแห่งการเรียนรู้อุดมปัญญา
2. เพื่อสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้เกิดขึ้นกับบุคคลและชุมชนบนพื้นฐานการเคารพในความแตกต่างของวิถีชีวิต และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
3. เพื่อสร้างพื้นที่การเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในชุมชนอย่างทั่วถึง เพื่อนำไปสู่ชุมชน แห่งการเรียนรู้บนพื้นฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
พันธกิจ
กศน.ตำบลบ้านเขือง ดำเนินงานภายใต้ พันธกิจ ดังนี้
1. จัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
2. ส่งเสริมสนับสนุนและประสานภาคีเครือข่าย เพื่อจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
3. จัดส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น
4. กำกับดูแล ตรวจสอบ นิเทศภายใน ติดตามประเมินผลและรายงานผลการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
5. พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยและภาคีเครือข่าย
6. ระดมทรัพยากรเพื่อใช้ในการส่งเสริมสนับสนุนการจัดและพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
7. ดำเนินการประกันคุณภาพภายในให้สอดคล้องกับระบบหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินคุณภาพการศึกษา

เป้าประสงค์
1. ด้านการบริหารการศึกษา
1.1 จัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี ให้แล้วเสร็จก่อนเปิดภาคเรียน
1.2 จัดทำข้อมูลนักศึกษารายบุคคล
1.3 จัดให้ครูได้รับการอบรมพัฒนาตนเองสู่การปฏิรูปการศึกษาอย่างน้อย 20 ชั่วโมง / ปี
1.4 จัดการเรียนการสอนการศึกษาพื้นฐาน การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพและทักษะชีวิต การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน และการศึกษาตามอัธยาศัย
1.5 ประสานงาน ส่งเสริม สนับสนุน เครือข่ายในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย รวมทั้งพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชน องค์กรท้องถิ่น องค์กรรัฐ องค์กรเอกชนและประชาชน ให้เป็นเครือข่ายการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
1.6 กำกับดูแลและนิเทศ ติดตาม และรายงานผลการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
2. ด้านการจัดการเรียนรู้
2.1 จัดปฐมนิเทศนักศึกษา
2.2 แนะแนวการศึกษา
2.3 จัดกระบวนการเรียนรู้
2.3.1 วิเคราะห์หลักสูตร
2.3.2 วิเคราะห์สภาพปัญหาและความต้องการของชุมชน
2.3.3 วิเคราะห์การจัดกระบวนการเรียนรู้
2.3.4 จัดทำแผนการเรียนรู้ร่วมกันกับผู้เรียนและผู้เกี่ยวข้อง
2.3.5. พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
2.4 วัดผลประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาคเรียน
2.5 วัดผลประเมินผลปลายภาคเรียน
3. ด้านการนิเทศกำกับติดตาม
3.1 จัดให้มีการนิเทศภายในอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง / ศูนย์การเรียนชุมชน
3.2 จัดให้มีแผนการนิเทศและประเมินการดำเนินงานทุกโครง

เป้าหมาย
1. เป้าหมายด้านการยกระดับการศึกษาและขยายโอกาสทางการศึกษา เป็นการยกระดับการศึกษาชั้นพื้นฐานให้กับประชากรวัยแรงงานและขยายโอกาสทางการศึกษาให้กับกลุ่มเป้าหมายที่มีความประสงค์จะได้รับการศึกษาโดยกำหนดเป้าหมายไว้ดังนี้
1.1 เป้าหมายระดับบุคคล ประชากรวัยแรงงานอายุ 15-59 ปีได้รับการยกระดับการศึกษาที่สูงขึ้นถึงระดับมัธยมศึกษา และการศึกษาต่อเนื่อง จำนวน 560 คน โดยจำแนกเป็น
1) ประชากรวัยแรงงานอายุ 15-39 ปี จำนวน 530 คนได้รับการศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา
2) ประชากรวัยแรงงานอายุ 40-59 ปี จำนวน 316 คนได้รับการบริการการศึกษาต่อเนื่อง(การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ การศึกษาพัฒนาทักษะชีวิตและการศึกษาพัฒนาสังคมและชุมชน)
3) ประชากรกลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน 40 คน ได้รับบริการการศึกษาต่อเนื่อง
4) ประชากรกลุ่มผู้ด้อยโอกาส เช่นผู้พิการ ผู้ไม่รู้หนังสือ และกลุ่มหมายอื่น ได้รับบริการการศึกษานอกระบบที่เหมะสมกับสภาพผู้เรียน
5) ประชาชนทั่วไป ได้รับบริการส่งเสริมการศึกษาตามอัธยาศัย จำนวน 3,000 คน
1.2 เป้าหมายระดับครัวเรือน ครัวเรือนไม่ต่ำกว่า 200 ครัวเรือนได้รับบริการการศึกษานอกระบบหรือการศึกษาตามอัธยาศัย อย่างน้อย 1 กิจกรรม
2. เป้าหมายด้านการศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นกระบวนการพัฒนาการเรียนรู้ของคนในชุมชนให้มีวิธีคิดและดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยดำเนินการกับกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 600 คน
3. เป้าหมายด้านการพัฒนาคุณภาพการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
3.1 พัฒนาคุณภาพการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาพื้นฐานนอกระบบ ระดับมัธยมศึกษา ตอนปลาย โดยให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้น ไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 จากฐานปีการศึกษา 2551 ใน 4 วิชาหลัก ได้แก่ วิชาภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์
3.2 ลดอันตราการออกกลางคันของผู้เรียนตามหลักสูตรการศึกษาพื้นฐานนอกระบบ เฉลี่ยร้อยละ5 ในทุกระดับ
3.3 ผู้เรียนหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่องแต่ละหลักสูตรไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 ผ่านเกณฑ์การประเมินตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้ของหลักสูตร
3.4 ผู้เรียน/ผู้บริการ กิจกรรมศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย แต่ละกิจกรรมไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 มีความพึงพอใจ ต่อกิจกรรมที่เข้าร่วม
ยุทธศาสตร์ ของการดำเนินงาน
ยุทธศาสตร์ที่ 1) เชื่อม การดำเนินงานที่เชื่อมกับเครือข่าย 3 กลุ่ม
1.1) กลุ่มผู้นำ
1.2) กลุ่มภูมิปัญญาท้องถิ่น
1.3) ส่วนราชการ
ยุทธศาสตร์ที่ 2) 4 ประสาน หมายถึง การดำเนินงานที่ใกล้ชิด ระดับร่วมทำงานเพื่อทำงานร่วมกันในพื้นที่ได้แก่
2.1 ) องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อเป็นการประสานงานให้เกิดความร่วมมือในการประสายแผนการดำเนินงานในระดับพื้นที่การสนับสนุนงบประมาณดำเนินการที่ตอบสนองต่อชุมชนอย่างแท้จริงตลอดจนร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมสร้างเอกลักษณ์และความภาคภูมิใจให้เกิดขึ้นในชุมชนตนเอง
2.2) วัด คณะสงฆ์ พระสงฆ์ ผู้ปฎิบัติศาสนกิจต่างๆ เพื่อเป็นแกนนำในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในวัดให้เกิดความยั่งยืน
2.3) องค์กรนักศึกษา ระดับอำเภอ ระดับตำบล และนักศึกษา กศน. เป็นการสร้างเสริมโอกาสให้กลุ่มเป้าหมายของ กศน. ได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานจัดกิจกรรมต่างๆ ตรงความต้องการของกลุ่มป้าหมาย
2.4 ) ส่วนราชการ และภาคีเครือข่ายในอำเภอเชียงขวัญ ร่วมกันจัดกิจกรรมการศึกษานอกโรงเรียน
ยุทธศาสตร์ที่ 3 ) 6 มาตรการ
3.1) เข้าใจ บุคลากร หรือเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานจะต้องใช้ฐานความรู้ในการปฏิบัติงานมีความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ ความเข้าใจในระเบียบข้อปฏิบัติ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินงาน
3.2) เข้าถึง บุคลากรทุกระดับ โดยเฉพาะ ครู กศน. จะต้องมีทักษะในการประสานงาน สามารถเข้าถึงประชาชนกลุ่มเป้าหมาย และสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อเครือข่าย
3.3) ใกล้ชิดติดพื้นที่ ครู กศน. ทุกคนจะต้องเข้าฝังในชุมชนเป้าหมาย เช่นหมู่บ้านแห่งการเรียนรู้ ศูนย์การเรียนชุมชนเพื่อสำรวจข้อมูลและนำข้อมูลมาประกอบการดำเนินงาน
3.4) ภาคีร่วมใจ การดำเนินโครงการต่างๆ กศน. ต้องร่วมมือกับเครือข่ายในการดำเนินงาน
3.5 ) ได้คุณภาพ ทุกโครงการทุกกิกรรมที่ดำเนินการจะต้องวัดผล และประเมินผล การดำเนินงาน เพื่อนำมาปรับปรุงให้ ได้คุณภาพและตรวจสอบได้
3.6) ประกาศให้ทราบทั่วกัน เป็นการประชาสัมพันธ์ การดำเนินงานของ กศน. ให้ทุกภาคส่วนของสังคมได้รับทราบ
3.2 ตัวชี้วัดความสำเร็จ
1.) สถานศึกษาและภาคีเครือข่ายผ่านเกณฑ์การประเมิน ตัวชี้วัด ธรรมาภิบาลระดับปานกลาง
2.) สถานศึกษาและภาคีเครือข่าย มีการจัดการความรู้
3.) ผู้บริหาร บุคลากรและภาคีเครือข่าย ได้รับการพัฒนาความรู้ความสามารถเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน
4.) สัดส่วนความร่วมมือในการดำเนินงาน การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของเครือข่าย: กศน. เป็น 60 : 40


ยุทธศาสตร์ที่ 4 ) โครงการ เพื่อปวงชนคนเชียงขวัญ เป็นโครงการต่าง ๆ ที่ กศน.อำเภอเชียงขวัญ ดำเนินการให้กลุ่มเป้าหมายในเขตอำเภอเชียงขวัญ ซึ่งแต่ละโครงการสอดคล้อง สนองนโยบายและจุดเน้นการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยประจำปีงบประมาณ 2553 จำนวน 8 ด้าน โดยมีรายละเอียดดังนี้
4.1 นโยบายด้านการศึกษานอกระบบ มีจำนวน 26 โครงการ แยกดังนี้
4.1.1 การสนับสนุนการจัดการศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย 15 ปี อย่างมีคุณภาพ จำนวน 5 โครงการ
- โครงการจ้างพิมพ์หนังสือแบบเรียน
- โครงการ กศน.ร่วมใจปฏิบัติธรรมเพื่อถวายในหลวง
- โครงการค่ายภาษาไทยส่งเสริมการอ่านพัฒนาการเขียน
- โครงการค่ายเรียนรู้วิทยาศาสตร์คู่ธรณีวิทยาถิ่นกำเนิดไดโนเสาร์จังหวัดกาฬสินธุ์
- โครงการวิทยาศาสตร์รณรงค์ลดโลกร้อน
4.1.2 การส่งเสริมการรู้หนังสือ จำนวน 1 โครงการ
- โครงการส่งเสริมการรู้หนังสือ การอ่านออกเขียนได้
4.1.3 การศึกษาต่อเนื่อง จำนวน 1 โครงการ (พัฒนาอาชีพ )
- โครงการส่งเสริมการประกอบอาชีพ พัฒนาอาชีพ
4.1.4 การศึกษาต่อเนื่อง (ทักษะชีวิต ) จำนวน 1 โครงการ
- โครงการขับขี่ปลอดภัยเสริมสร้างวินัยจราจรถวายในหลวง
4.1.5 การศึกษาต่อเนื่อง (พัฒนาสังคมและชุมชน )จำนวน 1 โครงการ
- โครงการสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้สู่เศรษฐกิจพอเพียงแบบยั่งยืน
4.1.6 การศึกษาต่อเนื่อง (การจัดกระบวนการเรียนรู้หมู่บานเศรษฐกิจพอเพียง )
จำนวน 1 โครงการ
- โครงการจัดกระบวนการเรียนรู้หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
4.1.7 การศึกษาต่อเนื่อง (การพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน ) จำนวน 3 โครงการ
- โครงการอบรมการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
- โครงการปฐมนิเทศและพิธีมอบใบสำคัญทางการศึกษา
- โครงการอบรมพัฒนาบุคลากรเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติงาน
4.1.7 การศึกษาต่อเนื่อง (การประกันคุณภาพการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ) จำนวน 1 โครงการ
- โครงการประชุมปฏิบัติการเตรียมความพร้อมรับการประเมินสถานศึกษาภายนอก

4.2 นโยบายด้านการศึกษาตามอัธยาศัย (อยู่ในแผนปฏิบัติการของห้องสมุด ปี 53 )
4.2.1 การส่งเสริมการอ่าน
4.2.2 ห้องสมุด 3 ดี
4.3 นโยบายด้านการส่งเสริมการเรียนรู้ของชุมชน จำนวน 6 โครงการ
4.3.1 กศน.ตำบล จำนวน 5 โครงการ
- โครงการพัฒนาศูนย์การเรียนเป็น กศน.ตำบล
- โครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในชุมชน ( เปิด กศน.ตำบล )
- โครงการพัฒนาคณะกรรมการ กศน.ตำบลระดับอำเภอ
- โครงการพัฒนาคณะกรรมการ กศน.ตำบลระดับตำบล
- โครงการจัดตั้ง กศน.ตำบลต้นแบบ
4.3.2 อาสาสมัคร กศน. จำนวน 1 โครงการ
- โครงการอบรมอาสาสมัคร กศน.อำเภอเชียงขวัญ
4.4 นโยบายด้านการสนับสนุนโครงการพิเศษ จำนวน 1 โครงการ
4.4.1 การส่งเสริมและการจัดการศึกษาสำหรับกลุ่มเป้าหมายพิเศษ จำนวน 1 โครงการ
- โครงการสืบสานวันผู้สูงอายุและรดน้ำดำหัวเทศกาลวันสงกรานต์
4.5 นโยบายด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา จำนวน 1 โครงการ
4.5.1 โครงการพัฒนาปรับปรุงอุปกรณ์ระบบคอมพิวเตอร์ กศน.อำเภอเชียงขวัญ
4.6 นโยบายด้านภาคีเครือข่าย จำนวน 1 โครงการ
4.6.1 โครงการประชุมสัมมนาภาคีเครือข่าย กศน.อำเภอเชียงขวัญ
4.7 นโยบายด้านการบริหารจัดการ จำนวน 3 โครงการ
4.7.2 โครงการนิเทศติดตามผลการดำเนินงาน กศน.ในเขตอำเภอเชียงขวัญ
4.7.3 โครงการประชุมคณะกรรมการสถานศึกษา กศน.อำเภอเชียงขวัญ
4.7.4 โครงการพัฒนาสถานศึกษามีชีวิต